Tag Archives: e-Book

ประวัติศาสตร์ ศิลปะ เอาของชาวบ้านมา

E-Book หนังสือสูตรเว่ยหลาง (ดาวน์โหลดไฟล์ PDF)

Number of View: 52483

E-Book หนังสือสูตรเว่ยหลาง โดยท่านพุทธทาสภิกขุ (ดาวน์โหลดไฟล์ PDF)

weilang

ทั่วไป

E-Book หนังสือแก่นพุทธศาสน์ (ดาวน์โหลดไฟล์ PDF)

Number of View: 37526

หนังสือแก่นพุทธศาสน์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ <ดาวน์โหลดที่นี่>
6679364

ทั่วไป

E-Book คู่มือมนุษย์ (ดาวน์โหลดไฟล์ PDF)

Number of View: 97751

หนังสือคู่มือมนุษย์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ <ดาวน์โหลดที่นี่>
ผู้จัดทำโดย : สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

book5620090714122016

จิตวิทยา ตลาด ตะลี ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี

สิ่งที่ e-Book ให้เราไม่ได้

Number of View: 3636

กระแสอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไร้สายทั้งมือถือและแท็บเล็ตถั่งโถมเข้ามายังประเทศไทยอย่างรุนแรง และคนไทยก็รับเอาไว้อย่างรวดเร็ว

ในด้านของผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างรู้ตัวและเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของตัวเองบ้างแล้วจากการที่ได้เห็นความเป็นไปของสื่อสิ่งพิมพ์ของต่างประเทศที่ล้มหายตายจาก และล้มลุกคลุกคลานอยู่ก็มี

สื่อสิ่งพิมพ์หลายค่ายได้ทำการปรับตัวด้วยการหันมาผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นอีบุ๊คในรูปแบบต่างๆ โดยการแปลงร่างสื่อแบบเดิมที่เป็นกระดาษให้เป็นอีบุ๊ค

หลายค่ายได้เพิ่มทางเลือกในการบริโภคสื่อด้วยการทำเนื้อหาแบบออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและกำลังจะประสบความสำเร็จ แต่หลายค่ายก็ดูเหมือนจะทรงๆ ทรุดๆ

ในส่วนของภาครัฐนั้นด้านการศึกษาก็ให้ความสำคัญกับการมาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยการแจกแท็บเล็ตกับเด็ก ป.1 แต่เหมือนจะได้รับคำ แนะนำติติงมากกว่าคำชม อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาหรือแบบเรียนนั้นยังไม่พร้อม

ด้านประชาชนคนทั่วไปก็คงไม่ต้องพูดถึงแล้วว่าเสพสื่อกันแบบใด ก็เห็นๆ กันอยู่ทั้ง ดูวิดีโอออนไลน์ อ่านข่าว อ่านนิตยสารออนไลน์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนเสพสื่อในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปมากก็จริง แต่ก็มีสื่อหนึ่งที่ดูแล้วเหมือนว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมาทดแทนความรู้สึกให้กับคนบริโภคได้ไม่หมด นั้นก็คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊ค

เราเปิดอ่านหนังสือผ่านไอแพดหรือแท็บเล็ตได้จริง แต่หลายอย่างก็ขาดหายไปไม่เหมือนกับอ่านแบบกระดาษ เช่น ต้องระมัดระวังในการถือ ต้องชาร์ทไฟ การเปิดหน้าอยากเปิดทีละหลายๆ หน้าอย่างที่ใจเราต้องการก็ไม่ได้ เมื่ออยากหยิบอยากจับออกมาอ่านเหมือนอยู่ในตู้หนังสือก็ไม่ได้ และก็ไม่รวดเร็ว

และที่สำคัญเกิดวันใดไอแพดหรือแท็บเล็ตพัง หรือผู้ให้บริการ Cloud Storage ไม่ว่าจะเป็น Dropbox หรือ Google Drive หรืออื่นๆ หยุดให้บริการ เมื่อถึงวันนั้นเราก็คงไม่มีหนังสืออ่านกันซึ่งถือเป็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง

ถ้าถึงวันนั้นจริง ไม่รู้ว่าเราจะยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นกระดาษให้ซื้อกันอยู่หรือเปล่า หรือแม้แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตามเถอะ