Number of View: 4764
ช่วงนี้ต้องถือว่าเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่คนไทยทุกคนต้องจดจำ
บ้างคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องการเมือง แต่อย่าลืมว่าการเมืองนี่แหละที่สามารถ
ทำให้ประเทศเราก้าวหน้าหรือเสื่อมลงได้
ไม่อยากพูดถึงเรื่องที่หนักๆเท่าไหร่ เพราะหลายสื่อ ทั้งสื่อออนไลน์ สื่อหนังสือพิมพ์
สื่อวิทยุ ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้กันมากแล้ว ก็ออกข่าว วิเคราะห์ข่าวในมุมมองของแต่ละคน
ช่วงเวลานี้ (03-02-49) หลายคนที่นั่งรถไปตามสถานที่ต่างๆในเมืองหลวงของประเทศไทย
จะปรากฎให้เห็นว่ามีแผ่นผ้า แผ่นกระดาษ ที่พยายามจะสื่อให้เห็นว่า เป็นการกระทำของ
ประชาชนคนธรรมดา เพราะวัสดุ และลายมือที่มาเขียนแผ่นป้ายนั้น ทำแบบง่ายๆ และถ้อย
คำที่เขียนลงไปนั้น ก็พยายามจะสื่อให้เห็นว่า เป็นความรู้สึกที่ออกมาจากประชาชนคนธรรมดา
โดยเนื้อหาของคำก็มีหลายคำ แ่ต่ทั้งหมดล้วนเป็นการกล่าวโจมตี การกระทำของฝ่ายที่กำลัง
ขับไล่นายก
ถ้าไม่คิดอะไรมาก หรือคนที่อยู่ในพื้นที่ๆมีป้ายเหล่านี้ไปติดอยู่ แล้วไม่ได้เดินทางไปไหนมาไหน
อาจจะคิดว่า ป้ายเหล่านี้ถูกเขียนมาโดยคนในพื้นที่ของตนเอง แล้วก็คงคิดว่าเป็นความรู้สึกโดยรวม
ของคนในชุมชนที่มีสนับสนุนนายก และคัดค้านการประท้วงการต่อต้านนายก
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คงมีความเป็นไปไม่ได้ที่คนในพื้นที่ต่างๆทั่วทุกอนูของกรุงเทพฯ จะอังเอิญ
มีความรู้สึกเดียวกัน แล้วไปซื้อแผ่นป้ายผ้า ป้ายพลาสติก แล้วใช้หมึก และลายมือเดียวกันเขียนแล้วนำ
ไปติดในชุมชนของตัวเอง พร้อมกันในคืนเดียว พรึบทั่วกรุงเทพ และข้อความซ้ำๆกัน ไม่กี่คำ
ถ้าไม่ใช่การกระทำที่เป็นขบวนการ หรือกลุ่มคนที่มีกำลังทรัพย์จ้างคนทำ จ้างคนเขียน และจ้างคนไปติด
คงเป็นไปไม่ได้
นี่เรียกว่าเป็นการตลาดนอกรูปแบบ ที่ถ้าคนไม่ชำนาญ และไ่ม่รู้เรื่องจิตวิทยามวลชน จะไม่สามารถคิดทำได้ง่ายๆ
ถ้าคนกรุงเทพ จะเคยสังเกตุว่า ในบางพื้นที่ของตึกอาคารพาณิชย์ หรือพื้นที่รกร้าง ว่างเปล่า ที่อยู่ในกรุงเทพ
จะเห็นการทำการตลาดโดยการติดแผ่นป้ายโฆษณา ที่ไม่ต้องเสียค่าติด แบบนี้อยู่ตลอดเวลา
โดยบางครั้งก็เป็นแผ่นผ้า ที่ติดพรึบ ทั่วกรุงเทพเพียงคืนเดียว บางที่ก็เป็นแผ่นกระดาษเล็กๆแล้วติดเรียงกันเยอะๆ
เพื่อให้เกิดความน่าสนใจให้คนหันไปมอง แม้จะสามารถโชว์ได้เพียงวันเดียว หรือสัปดาห์เดียว แล้วเจ้าหน้าที่
ทำความสะอาดก็มาฉีกทิ้ง ก็ถือว่าคุ้ม เพราะคนสามารถจดจำ และรับรู้ได้ เพราะสามารถเห็นซ้ำๆได้ ไปไหน ก็เห็น
ก็จดจำการตลาดนั้นๆได้ นี่เป็นตลาดเพื่อสินค้าในธุรกิจจริงๆ
แต่การตลาดที่ติดแผ่นป้ายโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการเมือง เพื่อสนับสนุนนายก ยังใช้จิตวิทยาชั้นสูง และลึกล้ำกว่านั้น เพราะคำแต่ละคำที่เขียนออกมานั้น ใช้หลักการตลาดที่เรียกว่า ถ้าเราได้อ่านแล้ว เราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนนึง
ของสิ้นค้านั้นๆ ซึ่งก็คือ จะทำให้เรารู้สึกว่า ป้ายที่เอามาติดนั้น เป็นเหมือนความรู้สึกของเราเอง ซึ่งเป็นหลักการตลาดที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกใช้กัน เช่น i’m loven’ it ของ McDonald’s
แถมการติดป้ายโฆษณาแบบนี้ก็ไม่ได้ต้องเสียภาษี และ ไม่ต้องโดนปลดโดยพนักงานเทศกิจของกรุงเทพฯ
หลักการตลาดแบบติดแผ่นป้ายโฆษณาทั่วกรุงเทพเพื่อสะกิดต้อมความรู้ของประชาชน เพื่อหวังผลทาง
จิตวิทยานั้น ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในขณะนี้ หลักการนี้เคยใช้มาแล้วครั้งนึง สมัยที่นายกทักษิณเพิ่ง
ก้าวลงมาเล่นการเมืองครั้งที่2โดยเป็นรองนายกรัฐมนตรี และอาสาแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ
และได้ทำการปูพรม ป้ายโฆษณาที่มีคำต่างๆ กันไป เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้คนในกรุงเทพฯมีจิตสำนึก
ในเรื่องการเคารพในกฎจราจร และ การให้มีน้ำใจในท้องถนน ทุกพื้นที่ของกรุงเทพอย่างถี่ยิบ จน
สามารถเรียกได้ว่า รถเลยก็ว่าได้ จะมีคำต่างๆ ในป้ายเช่น “จรเข้ ขวางคลอง” สำหรับพวกที่ชอบ ขับรถไปต่อ
คันอื่นตามสี่แยกที่รถยังติด ทำให้รถเลนอื่น ไม่สามารถไปได้ หรือคำว่า “ลูกใครหว่า” พร้อมมีภาพประกอบเป็นเด็กข้ามเหล็กกั้นกลางถนน เป็นป้ายที่ไปติดตามกลางถนน เพื่อให้คนที่ไม่ชอบข้ามสะพานลอยได้ละอายใจ
นอกจากนี้ยังมีป้ายที่มีภาพประกอบพร้อมคำในแผ่นป้ายอีกหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคำ จะเป็นคำที่คัดสรรมาอย่างดี
ว่าจะมีผลทางจิตวิทยากับคนที่อ่านได้เจอ ว่าจะต้องเลิกนิสัยเกี่ยวกับการจราจรที่ไม่ดีเหล่านี้เสีย
ซึ่งจากการสรุปของผู้รู้หลายคนในช่วงนั้นว่า การทำเช่นนั้นช่วยปัญหาการจราจรให้กรุงเทพได้ไหม หลายคน
ก็ตอบว่าไม่ได้ แต่การทำป้ายออกมา สามารถส่งผลทางจิตวิทยา ให้คนปฏิบัติตามกฎจราจรได้พอสมควร
และก็อีกเช่นกัน การที่มีการทำการตลาดแบบแผ่นป้ายในแนวเดิมๆ ของคนเดิม ซึ่งคราวนี้ออกมาเพื่อดึงมวล
ชนที่ต่อต้านตัวเอง ให้กลับใจมาเขากับพวกตัวเอง และให้รู้สึกว่า พวกที่ขับไล่ตัวเอง เป็นพวกที่ผิดนั้น
ไม่รู้จะบรรลุเป้าหมายแค่ไหน เพราะคนระดับกลาง และระดับบนของกรุงเทพ เขารู้กันหมดแล้วว่า ใครเป็นคน
เขียนป้าย
ก็ได้แต่หวังว่า การตลาดแบบนี้มาพร้อมกับการเข้ามาเล่นการเมืองของนายก แล้วนายกก็คงไม่ได้ลาจากจาก
การเมืองด้วยการตลาดแบบเดิมๆ ของตัวเองเช่นกัน