เช้าวันหนึ่งได้ฟังข่าวว่ามีพายุลมแรงทำให้ต้นไทรใหญ่อายุกว่าร้อยปีหักลงมา
ทำให้นึกถึงเพลงของศิลปินวงโปรดที่ฟังอยู่เป็นประจำในอดีตคือเพลง “พายุ”
ของวง “ไมโคร” ขึ้นมาทันที
เนื้อเพลงกล่าวถึงบรรยากาศก่อนที่จะมีพายุใหญ่จะมาเป็นอย่างไร
ซึ่งจะเหมือนกับที่ทางข่าวแจ้งเตือนการให้ระวังว่าการจะมีพายุใหญ่
และหนักจะมีสภาพบรรยากาศเป็นอย่างไร แล้วก็ตรงกับผู้ใหญ่หรือ
พ่อแม่แถวบ้านบอกกับเราตอนเด็กๆ ว่า ถ้าฟ้าแดงมีเมฆดำทมึนเมื่อไหร่
ก็แสดงว่า นั่นหมายถึงพายุหนักกำลังจะกระหน่ำมา
เนื้อเพลงยังเปรียบเปรยธรรมชาติกับชีวิตจริงของคนว่า
ถ้าใครทำตัวอ่อนเอนตามพายุเหมือนต้นหญ้าริมทาง
ซึ่งก็จะคล้ายกับคำสุภาษิตที่ว่า น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง
เช่นเจอคนที่กำลังโมโหร้ายบ้าดีเดือด ก็อย่าทำตัวขวาง
เขาแต่ควรจะพูดดี พูดเอาใจเขาไว้ก่อน ก็จะอยู่รอดปลอดภัย
อย่า ไปทำตัวเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ลมพายุมาก็ยังยืน
ตะหง่านเป็นสง่าอยู่ตลอดเวลา ทำตัวต้านแรงลม
แต่สุดท้ายก็ต้านพายุแรงไม่ไหวต้องโค้นล้มลง
ในที่สุด เหมือนในข่าว
ถ้าเป็นก็คงโดนดีโดนพวกบ้าดีเดือดทำร้ายเอาได้
เนื้อเพลงแต่งได้สละสลวยแล้วก็เพราะมากผมก็ชอบฟัง
แล้วก็ร้องตามอยู่เป็นประจำ แล้วก็ทำให้นึกถึงคนที่
แต่งเพลงแนวนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าอยู่ในค่ายแกรมมี่
ก็คือคุณ “เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์” ซึ่งท่านจะเป็นคนที่
แต่งเพลงสไตล์นี้อยู่ประจำ
ถ้า จำไม่ผิดในสมัยเมื่อก่อนที่ผมฟังเพลงทั้งคืนทั้งวันนั้น
ทางแกรมมี่เขามีแนวคิดว่าใน อัลบั้มๆหนึ่งของศิลปินนั้น
จะต้องมีเพลงที่เป็นไม่ใช่แนวอกหักรักคุดหรือ เป็นเพลง
ที่มีสาระนั่นเองซึ่งก็เป็นแนวคิดที่ดีและควรจะเพิ่มมากกว่า
หนึ่งเพลงด้วยซ้ำในปัจจุบัน
แล้วคนที่แต่งเพลงแนวนี้ให้กับแกรมมี่ก็จะเป็นคุณเขตต์อรัญ เช่น
เพลง “เก็บไว้ให้เธอ” ของวง “นูโว”
เพลง “ก็มันเป็นอย่างนั้น” “เบื่อก็ทนเอา” ของ “บิลลี่ โอแกน”
เพลง “เส้นตรง” ของ “มอส ปฏิภาน”
เพลง “เครื่องจักรน้อย ๆ” “คือฝน” “หยุดมันเอาไว้” “พายุ”
“จริงใจซะอย่าง” “ลองบ้างไหม” “เปิดฟ้า” “อู๊ดกับแอ๊ด” ของวง “ไมโคร”
ซึ่งวงนี้ร้องได้ทุกเพลง
เพลง ” กระดี่ได้น้ำ” (แต่งร่วมกับ นิติพงษ์ ห่อนาค) “ทำดีได้ดี”
“วีณาแกว่งไกว” (เพลงนี้ชอบมาก ทำนองก็มันส์) “สัจธรรม”
“ขลุ่ยผิว” “ผักชีโรยหน้า” “สายล่อฟ้า” (เพลงนี้ผมชอบใช้เป็นนามแฝง)
“ให้มันเป็นไป” “ทองไม่รู้ร้อน” “ฟักทอง” “สุขใจ” “รุ้งกินน้ำ”
“สับปะรด” “เหลือเก็บเหลือจ่าย” “พบกันครึ่งทาง”
ของอัสนี และ วสันต์ โชติกุล ของพี่สองคนนี้ก็ร้องได้เกือบทุกเพลง
นอก จากจากนี้ก็ยังมีอีกหลายเพลง แล้วก็หลายศิลปิน
ที่คุณเขตต์อรัญเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนมากก็จะไม่ได้เป็นเพลง
เกี่ยวกับความรักอะไรเลย โดยเฉพาะที่ยกมาเป็นตัวอย่างด้านบนทั้งหมด
ไม่มีเพลงที่เกี่ยวกับความรัก เลย แต่จะเป็นเพลงที่ออกแนวปรัชญา
ให้แง่คิดการใช้ชีวิตดีๆ ธรรมะ หรือ พุทธปรัชญา ซึ่งผมเคยกล่าวถึง
ว่าอยากให้ประเทศไทย มีเพลงแบบนี้บ้างใน “บทเพลงที่หายไป”
ซึ่งผมก็เคยฝันว่าอยากเป็นคนเขียนเพลงแบบนี้เหมือน กัน
และในเมืองไทยก็มีไม่กี่คนที่แต่งเพลงแนวนี้ได้ดี คือ
เป็นเพลงที่แฝงแง่คิดและปรัชญา และสาระในเพลงได้
แต่ก็สามารถทำให้วัยรุ่นฟังได้และเข้าถึงวัยรุ่นได้ ไม่น่าเบื่อ
คน ที่แต่งเพลงแนวนี้เช่น คุณโป่ง ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์,
คุณยืนยง โอภากุล, คุณทิวา สาระจุฑะ, คุณศุ บุญเลี้ยง,
คุณพงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และอีกหลายท่าน
แต่ว่าหลังๆมา คนเหล่านี้นานๆ ทีก็ถึงจะมีผลงานออกมา
และออกมาแต่ละครั้งก็ไม่ค่อยได้รับการโปรโมทเหมือน
อยู่ค่ายใหญ่ เพราะไม่ใช่เพลงแนววัยรุ่นหรือเพลงตลาด
เมื่อวันก่อนช่วงประมาณ 5 ทุ่มขณะขับรถกลับบ้านได้ฟัง
รายการวิทยุคลื่นหนึ่งซึ่งก็ได้ฟังเรื่อยๆ ถ้ามีโอกาสบังเอิญขณะขับรถ
แต่ยังจำชื่อนักจัดรายการไม่ได้ มีสองท่าน ในรายการจะกล่าวถึง
วงการดนตรีของบ้านเราแล้วก็จะเป็นแนวคุณภาพ ไม่เลือกค่าย
ไม่เลือกแนว ไม่เลือกเก่า ไม่เลือกใหม่ ถือว่าเป็นรายการที่ดีพอสมควร
(ถ้าได้ชื่อรายการและคลื่นจะมาแจ้งให้ทราบ)
ในรายการกล่าวถึงคุณเขตต์อรัญพอดี ว่าท่านเป็นบุคคลคุณภาพ
และเพิ่งได้รู้วันนั้นนั่นเองว่า คุณเขตต์อรัญ ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2546 แล้ว
ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายและเสียใจอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องเสียคนดีๆ อย่างนี้ไป
แล้วในรายการก็เปิดเพลงที่ท่านแต่งให้ฟังคือ เพลง “ดนตรี คีตา เวหา จักรวาล”
ซึ่งร้องโดยคุณ เรวัต พุทธินันทน์ เนื้อหาเพลงจะเป็นแนว พุทธปรัชญา
แต่ถึงอย่างไรก็ตามเพลงหลายๆ เพลงของท่านยังจะได้อยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน
และเป็นอมตะด้วยซ้ำ เพราะเพลงแต่ละเพลงเป็นเพลงที่ให้แง่คิด เป็นปรัชญา
เป็นธรรมะ ไม่มีวันที่จะเลือนหายไปจากหูของของฟังเพลงแต่อย่างใด
คงมีการนำมาฟังซ้ำ ทำใหม่ ร้องใหม่อยู่เรื่อยไป
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณ เขตต์อรัญ >> songchef |เฉลียง