ต้นตำรับโบราณแท้ (เจ้าเก่า)

Number of View: 2170

ร้านอาหารร้านค้าแผงลอย รวมทั้งร้านเล็กร้านใหญ่ในกรุงเทพฯ มีสูตรแห่งการ
ทำธุรกิจ แล้วก็ไม่รู้จะเรียกว่าจะเป็นสูตรแห่งความสำเร็จหรือเปล่า
ก็ไม่รู้ นั่นคือหลายร้านพยายามจะเขียนชื่อร้านของตัวเองพร้อมมี
วงเล็บบรรยายสรรพคุณว่า “เจ้าเก่า” ถ้าไปถามเจ้าของร้านจริงๆ
คาดว่าน่าจะคิดเป็นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งก็ว่าได้ที่ร้านเป็นเจ้าเก่าจริง
กับเจ้าปลอม

ที่มาที่ไปของการบอกว่ามีความเป็นเจ้าเก่า ก็คงเพราะต้องการสร้าง
ความแตกต่างๆ หรือให้มีความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่จะมาลิ้มรสของอาหาร

ถ้าเป็นเจ้าเก่าจริงๆนั้น เมื่อมีการย้ายร้านมาอยู่ทำเลใหม่ อันเนื่อง
มาจากการเปลี่ยนแปลงของเมือง ทำเลการค้าขายเปลี่ยนแปลงไป
ก็ต้องมีการประกาศให้ลูกค้าได้รู้ หรือถึงแม้ไม่บอกว่าเป็นเจ้าเก่า
ลูกค้าที่ติดใจในรสชาดก็ต้องตามไปกินอยู่ดี

ส่วนร้านที่เป็นเจ้าเก่าแบบปลอมๆนั้นปัจจัยที่ทำให้เขาต้องทำอย่างนั้น
ก็คือเพื่อดึงดูดลูกค้าและจุดขาย โดยการแนะนำจากผู้สนับสนุนเอสเอ็มอี
หรือคนใกล้ชิด หรือ เป็นไอเดียจากเจ้าของกิจการเอง

เอาเข้าจริงแล้วกลายเป็นว่ามีร้านที่เป็นเจ้าเก่าอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด
คนเลือกซื้อเลือกกินก็เลยไม่ค่อยได้มองตรงนี้เลย จากที่ต้องการให้โดดเด่น
แตกต่าง กลับกลายเป็นร้านๆธรรมดาเหมือนคนอื่นไป

แต่ก็ยังมีกลุ่มที่คิดที่แตกต่างจากไอเดียแบบเจ้าเก่าแบบเดิมๆแบบสุดขั้วไปเลย
แต่ก็ยังยึดแนวทางแบบเจ้าเก่าอยู่ ก็เลยมีคำว่า “โบราณ” มาแทน เช่นกาแฟโบราณ
ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ไอติมโบราณ ซึ่งก็สร้างจุดขาย และขายความแตกต่างได้ระดับหนึ่ง
ซึ่งเนื้อในของเนื้อหา หรือตัวอาหารแล้วก็ไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก แต่ก็ถือว่า
เป็นการคิดแบบใหม่ ถึงแม้จะโหยหาอดีตก็ตาม

อีกไม่นานนับจากนี้ไอเดียการขาย แนว “โบราณบริการ” คงต้องหาแนวทางใหม่ๆ
อีกเช่นกันกับแนวการขายแบบ “เจ้าเก่าบริการ” ด้วยเช่นกัน ถึงวันนั้นอาจจะเป็น
แนว “ไม่เหมือนใครบริการ” หรือ สร้างจุดขายแปลกแบบตำราอาหารใหม่ๆของ
แดจังกึมก็เป็นได้ ซึ่งไอเดียนี้ ก็มีทำกันมานานในร้านอาหารดังๆเยอะแล้วเหมือนกัน
เช่น ส้มตำแอปเปิ้ล, ลาบกุ้ง แล้วก็อีกหลายๆเมนู

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Time limit is exhausted. Please reload CAPTCHA.