ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในบรรยากาศที่เรียกว่า “สังคมแห่งความคิด”
เกิดบรรยากาศในลักษณะที่มีการปะทะทางความคิดจากหลายๆฝ่าย
มีการเห็นด้วย,คล้อยตาม,ขัดแย้ง มีการแสดงความคิดเห็น
มีการติติง มีการโชว์วิสัยทรรศน์มากขึ้นทั้งแนวดั้งเดิมเช่น
เวทีสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อทั้งสื่อเก่าเช่น
วิทยุ,โทรทัศน์ หรือสื่อใหม่อย่าง อินเตอร์เน็ตผ่านเว็บบอร์ด
และ blog
อาจจะมองว่าเป็นการขัดแย้ง แตกแยก ไม่สามัคคี แบ่งพรรค
แบ่งพวก ซึ่งก็สามารถมองอย่างนั้นได้ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างใน
บรรยากาศแบบนี้คือ การที่เราได้เห็นว่า ประเทศของเรามีประชากร
ที่คิดเป็น วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น ไม่ใช่ ลับหูลับตาดู ลับตาฟัง
แล้วก็เชื่อๆ ไปตามข่าว ตามกระแส
การถกเถียงกันก็เป็นสิ่งดีเพราะจะนำมาซึ้งความคิดความรู้
ใหม่ๆ ดีกว่า การไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักการแสดงความคิดเห็น
เริ่มจะหมดสมัยแล้วกับการฉกหรือขโมยไอเดียคนอื่น
เช่นก๊อปเพลง ก๊อปสารพัดก๊อป ประเทศและโลกกำลังจะเข้า
ยุคคิดเองทำเองให้เป็นให้ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ ประชากร
ก็ต้องคิดให้เป็นก่อน รู้จักคิด รู้จักการพัฒนา
การปะทะกันทางความคิดในบางครั้งก็อาจจะนำไปสู่การ
ปะทะกันทางกำลัง ถ้าใส่อารมณ์เข้าไปมาก ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งดี
ซึ่งอดีตก็เคยได้สอนเราหลายครั้ง ไม่ว่าจะก็ตุลา หรือ พฤษภา
ก็แล้วแต่
เพราะฉะนั้นแต่ละฝ่ายควรสำนึกและระลึกไว้เสมอว่า
จุดพอดีมันควรอยู่ตรงไหน เดินหน้าถอยหลังแค่ไหน
จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อส่วนรวม และประเทศชาติ
ตอนนี้ประเทศไทยอุดมไปด้วยความคิด หรือความคิด
กำลังจะทะลักประเทศ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ได้ อาจจะเป็นเพราะไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบในแนวนี้ หรือไม่ก็หน่วยงานในแนวนี้ไม่
ทำงาน หรือไม่ก็ถูกทำหมัน
หลายๆความคิดจากรัฐมนตรี หรือจากบุคคลที่มีชื่อเสียง
ของประเทศดูเป็นเรื่องตลก หรือไม่ก็เป็นเรื่องไร้สาระ
สาเหตุเนื่องมาจากความคิดเหล่านี้ไม่ได้ทำการคัดสรร
หรือไตร่ตรองมาให้ดีๆก่อน
มหาวิทยาลัยลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่งที่เป็นทั้งแหล่ง
ความรู้และแหล่งความคิดของประเทศตอนนี้ก็กลายเป็น
ระบบธุรกิจที่กำลังแข่งขันกันอย่างรุนแรงเพื่อจะทำรายได้
ให้กับองค์กรให้ได้มากที่สุด ลืมหน้าที่ๆที่ควรจะให้กับสังคม
คือการเป็นแหล่งให้ความรู้และวิพากษ์วิจารณ์ วิจัย พัฒนา
องค์ความรู้เพื่อประเทศชาติและชุมชน
ถ้าท่านเข้าไปดูในเว็บ http://ocw.mit.edu จะได้เห็นภาพชัดเจน
ว่าการทำเพื่อสังคมและไม่ใช่เฉพาะประเทศของตนนั้นเขาทำกัน
อย่างไร ในประเทศไทยก็พอมีบ้างเช่นของราม http://e-book.ram.edu
แต่สิ่งที่กล่าวมานั้นก็ยังเป็นแค่เพียงเศษเสี้ยวของการที่จะทำเพื่อสังคม
กลับมาพูดถึงว่าทำอย่างไรจะระดมความคิดจะประชาชน
ที่กำลังจะทะลักล้นประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
รัฐบาลควรที่จะหันมาให้ความสนใจ รับฟัง หรือตั้งองค์กร
ขึ้นมารับฟัง หรือปฏิรูปองค์กรเดิมๆ ที่ควรจะรับฟังหรือระดม
ความคิดจากประชาชน แต่ตอนนี้ไม่ทำงาน ให้กลับมา
ใช้งานให้ได้ ไม่งั้นก็คงจะเกิดอาการกับประเทศที่ว่า
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดแน่ๆ
ถ้าไม่กลัวเสียหน้าก็เอาตัวอย่างวิธีการของสมัชชาประชาชน
ของพรรคฝ่ายค้านดูเป็นแบบอย่าง หรือวิธีการระดมความคิด
แนวนึง ก็น่าจะเข้าท่า